รู้ก่อนซื้อยาคลายเส้น และ 3 วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยน้ำมันหอมระเหย

หัวข้อ

Share

เคล็ดลับน่ารู้ก่อนเลือกซื้อยาคลายเส้น และวิธีนวดผ่อนคลายเส้นปวดเมื่อยด้วยน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ

บทความสำหรับผู้ที่กำลังมองหายาคลายเส้น หรือยานวดคลายเส้น เพื่อบรรเทาอาการเส้นตึง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการออกกำลัง วางท่าไม่ถูก อยู่ท่าเดิมนาน หรือจากออฟฟิสซินโดรม 

รวมเรื่องควรรู้วิธีเลือกซื้อยาคลายเส้น ความปลอดภัยในการใช้ ข้อควรระวังต่างๆ รวมถึงแนะนำการคลายเส้นด้วยน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรธรรมชาติ

ยาคลายเส้นคืออะไร

ยาคลายเส้นคืออะไร?

ยาคลายเส้น หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxant) คือกลุ่มยาที่ใช้ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อจนทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือรู้สึกไม่สบายตัว

ยาคลายเส้นส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อ ในขณะที่ยาบางตัวมีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ

ยาคลายเส้นจะมีทั้งยาเม็ดแบบรับประทาน แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบทานวด

ควรใช้ยาคลายเส้นกับอาการปวดกล้ามเนื้อแบบไหน?

อาการปวดกล้ามเนื้อ 2 แบบที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหดตัว (Muscle Spasm) และ กล้ามเนื้อแข็งตัว (Spasticity)

กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Spasticity)

เกิดจากโรคที่ทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเสียหาย เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ, โรคสมองพิการ หรือเส้นเลือดในสมองแตก

อาการกล้ามเนื้อแข็งตัวมีได้ตั้งแต่ไม่รุนแรงมากจนถึงทำให้ร่างกายทรุดโทรมและเจ็บปวด อาการกล้ามเนื้อแข็งตัวที่แสดงออก เช่น

  • กล้ามเนื้อตึง ข้อต่อตึง
  • ปวดในกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ขยับตัว เคลื่อนไหวลำบาก
  • กล้ามเนื้อกระตุกโดยไม่ตั้งใจ
  • ท่าทางผิดปกติ
  • ตำแหน่งนิ้ว ข้อมือ แขน หรือไหล่ที่ผิดปกติ

กลุ่มยาที่ใช้รักษากล้ามเนื้อแข็งตัว เช่น

โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin): ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตัวยาจะไปปิดกั้นสารสื่อประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ใช้รักษาในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อหดตัว

บาโคลเฟน (Baclofen): เป็นยาเม็ดทานสำหรับคลายกล้ามเนื้อและแก้อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

ไดอะซีแพม (Diazepam): เป็นยานอนหลับชนิดหนึ่ง ไม่ได้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อ แต่ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและทำให้ง่วงนอน

ทิซานิดีน (Tizanidine): เป็นยาอันตรายที่ต้องใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น ใช้ผ่อน

กล้ามเนื้อหดตัว (Muscle Spasm)

อาจเกิดจากความเครียดของกล้ามเนื้อ อาการปวดอาจเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วหายไป หรือปวดเรื้อรังต่อเนื่อง ปวดจากกล้ามเนื้อหดตัวที่พบบ่อย เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหลังเรื้อรัง ไปจนถึงตะคริว

อาการกล้ามเนื้อหดตัว หรือตะคริว มักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่นขณะออกกำลังกาย

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ขาดแร่ธาตุ และร่างกายขาดน้ำอาจเป็นสาเหตุให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน

แร่ธาตุที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ:

  • แคลเซียม
  • โพแทสเซียม
  • โซเดียม
  • แมกนีเซียม

กลุ่มยาทานที่ใช้รักษากล้ามเนื้อหดตัว เช่น บาโคลเฟน (Baclofen), แดนโทรลีน (Dantrolene), และทิซานิดีน (Tizanidine) รวมถึงกลุ่มยาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาพร็อกเซน

ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงจากการทานยาคลายกล้ามเนื้อ

ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงจากการทานยาคลายกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ละชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น

  • เหนื่อยล้า ง่วงนอน และอ่อนเพลีย
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง
  • คลื่นไส้

การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาแต่ละชนิด รวมถึงปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง รวมถึงไม่ควรใช้เป็นการรักษาหลัก แต่อาจใช้เมื่อรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผล

ควรสังเกตุสัญญาณอาการของการแพ้ยาคลายกล้ามเนื้อ หากมีสัญญาณของการแพ้ยา ให้รีบขอความช่วยเหลือหรือไปพบแพทย์ทันที อาการแพ้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น

  • มีไข้สูง
  • มีผดผื่นแดง
  • มีอาการบวมตามตัว แขนขา ปาก ใบหน้า
  • รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

ยาคลายกล้ามเนื้อบางตัวมีตัวยาที่มีผลทำให้เกิดอาการติดยา รวมถึงเมื่อทานติดต่อกันแล้วหยุดทานทันทียังอาจทำให้เกิดอาการถอนยา เช่น อาการชักหรืออาการประสาทหลอน

ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ติดแอลกอฮอล์ เป็นโรคลมชัก อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ระหว่างทานยาโรคซึมเศร้า ควรหลีกเลี่ยงการทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ห้ามทานยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจจะทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น

ทั้งยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อต่างเป็นกลุ่มยาที่เป็นพิษต่อไต และร่างกายจะต้องขับสารเคมีจากยาเหล่านี้ออกทางไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น รวมถึงการได้รับสารพิษสะสมในไตที่ยาวนาน มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคไตที่รุนแรงถึงขั้นไตวายได้

ยานวดคลายเส้นมีกี่แบบ

ยานวดคลายเส้นมีกี่แบบ?

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดจากกล้ามเนื้อหดตัว (Muscle Spasm) และพยายามหลีกเลี่ยงยาทาน สามารถใช้ทางเลือกธรรมชาติอย่างการประคบร้อน หรือประคบเย็นกับกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด

หรือจะใช้ยานวดคลายเส้นจากสมุนไพร ที่สร้างความรู้สึกร้อนหรือเย็นเมื่อทานวดลงบนกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ

ยานวดคลายเส้นจากสมุนไพรยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจากพืชสมุนไพรที่ช่วยให้ความรู้สึกผ่อนคลายไปในตัวอีกด้วย

ยานวดคลายเส้นสูตรร้อน

ยานวดคลายเส้นสูตรร้อน เหมาะกับอาการปวดแบบไม่กระทันหัน เช่น อาการปวดเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยหลังออกกำลัง ปวดเคล็ดขัดยอก

ยานวดคลายเส้นแบบร้อน ให้ผลคล้ายกับการประคบร้อน เป็นยานวดที่มีส่วนผสมของ เมทิลซาลิไซเลต (Methyl Salicylate) สารตามธรรมชาติพบในพืชสมุนไพรที่ให้ความรู้สึกเผ็ดร้อน เช่น ระกำ (Wintergreen)

เมทิลซาลิไซเลตเมื่อทาจะซึมลงไปใต้ผิวหนัง จะช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว กระตุ้นการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ทา ช่วยลดความปวดล้าของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้

ยานวดสูตรร้อน ไม่ควรใช้กับอาการปวดกล้ามเนื้อจากการฟกช้ำ กระแทก หรืออุบัติเหตุในช่วง 48 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้เส้นเลือดฝอยที่ฉีกขาดภายในไม่สมานกัน

ผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้สารเมทิลซาลิไซเลต หรือมีโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานวดประเภทร้อน

ยานวดคลายเส้นสูตรเย็น

ยานวดคลายเส้นสูตรเย็น เหมาะสำหรับใช้กับอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อแบบกระทันหัน บาดเจ็บเฉียบพลัน เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดแบบฉับพลัน

ยานวดคลายเส้นแบบเย็น ให้ผลคล้ายกับการประคบเย็น จะเป็นยานวดที่มีส่วนผสมของ เมนทอล (Menthol), ยูคาลิปตอล (Eucalyptol) และการบูร (Camphor) เป็นสารตามธรรมชาติพบในพืชสมุนไพรที่ให้ความรู้สึกเย็น เช่น เปปเปอร์มินต์ ยูคาลิปตัส และราวินซาร่า

ยานวดคลายเส้นแบบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการปวดโดยตัวยาจะซึมลงใต้ผิวหนังทำให้เกิดความรู้สึกชาในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยให้เริ่มใช้ภายใน 24-48 ชั่วโมง หลังการปวดหรือบาดเจ็บ

ยาคลายเส้นสูตรเย็นยังช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง และช่วยลดอาการปวดบวมแดง

นอกจากนี้ ยานวดแบบเย็นยังเหมาะสำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย ซึ่งไม่สามารถใช้ยานวดสูตรที่แสบร้อนได้

ทั้งนี้ หากมีอาการเจ็บปวด อักเสบในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ เช่น ปวด บวม แดง ควรเลือกใช้ยาทาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และมีส่วนผสมหลักเป็นตัวยา Diethylamine salicylate ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และอาการอักเสบได้

ข้อควรระวัง เมื่อใช้ยานวดคลายเส้น

ไม่ควรทายานวดบริเวณที่มีบาดแผลเปิด มีเลือดออก หรือบริเวณผิวหนังอ่อนที่ระคายเคืองง่าย

ระวังอย่าให้เข้าตา หรือทาบริเวณใกล้ดวงตา

ไม่ควรทายานวดคลายเส้นสมุนไพรที่มีส่วนผสมของเมนทอล และเมทิลซาลิไซเลต หากผิวหนังมีความชื้นสูง เช่น หลังอาบน้ำ หรือออกกำลังการเสร็จใหม่ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ผิวบอบบาง เพราะจะทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนได้

หากใช้ยานวดคลายเส้นไป 2-3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย หรือดีขึ้นแต่ใช้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์แล้วอาการปวดยังไม่หาย ยังรู้สึกปวดเหมือนเดิม ปวดจนไม่สามารถขยับหรือลงน้ำหนักได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม

7 วิถีธรรมชาติบำบัดลดอาการปวดกล้ามเนื้อ

7 วิถีธรรมชาติบำบัดลดอาการปวดกล้ามเนื้อ

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน นั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หรือหลังออกกำลังกายผิดท่า จนมีอาการปวดเส้น ตึง เมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่

ลองสูตรยาคลายกล้ามเนื้อตามธรรมชาติทั้ง 7 ชนิดนี้ ที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทานยาเป็นทางเลือกแรก

1. น้ำเชอร์รี่

ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก มักทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด น้ำเชอร์รี่สามารถช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในนักวิ่ง

การดื่มน้ำเชอรี่ช่วยลดอาการปวดหลังออกกำลังได้ น้ำเชอรี่ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบตามธรรมชาติในผลไม้ ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ

2. บลูเบอร์รี่

อีกวิธีที่หอมหวาน และเป็นธรรมชาติในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือการรับประทานบลูเบอร์รี่ มีงานวิจัยที่พบว่าการทานบลูเบอร์รี่ก่อนและหลังออกกำลังกายสามารถช่วยเร่งการฟื้นตัวจากความเสียหายของกล้ามเนื้อ

บลูเบอร์รี่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบได้

3. พริกป่น

แคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารที่พบในพริกป่นและเป็นยาคลายกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่มักจะแนะนำให้คนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย และโรคไขข้ออักเสบสามารถเพิ่มลงในอาหารได้

4. วิตามินดี

ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจจะมีส่วนมาจากการขาดวิตามินดี โดยเฉพาะช่วงที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน หรือผู้ที่ต้องทำงานตอนกลางคืน ไม่ค่อยได้ออกไปรับแสงแดด

คุณสามารถรับวิตามินดีเพิ่มจากอาหารเสริม หรือจากอาอาหารเช่น ไข่ ปลา และนม รวมถึงการได้รับแสงแดดเป็นประจำ

5. แมกนีเซียม

แมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ เนื่องจากแมกนีเซียมช่วยรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทให้เป็นปกติ อาการปวดกล้ามเนื้อ ยังเป็นอาการเริ่มแรกในผู้ที่ขาดแร่ธาตุแมกนีเซียมด้วย

แมกนีเซียมส่วนใหญ่พบในอาหาร เช่น กล้วย อัลมอนด์ พืชตระกูลถั่ว และข้าวกล้อง

6. พักผ่อนให้เพียงพอ

บางทีวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด และประหยัดที่สุดในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณก็คือการพักผ่อน การได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก และพยายามอย่าให้กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป

7. น้ำมันหอมระเหย

ในน้ำมันหอระเหยมีสารประกอบที่ช่วยคลายเส้น หรือบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติ เช่น เมทิลซาลิไซเลต ในน้ำมันหอมระเหยระกำ (Wintergreen) ที่ให้ความรู้สึกร้อนเมื่อทา หรือเมนทอล ในน้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินต์ (Peppermint) ที่ให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น

คลายเส้นตึง ลดปวดเมื่อยด้วยน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติบำบัด

คลายเส้นตึง ลดปวดเมื่อยด้วย 15 น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติบำบัด

น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดสามารถใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการเส้นตึง อาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการบวมได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการทานยา

คุณสามารถเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบ หรือสามารถลองผสมน้ำมันหอมระเหยหลายๆ กลิ่นเป็นสูตร DIY ส่วนตัว โดยที่ยังให้ผลในการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย เส้นตึง หรือบวมอักเสบได้

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการเส้นตึง เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการกล้ามเนื้อปวด ตึง และบวม

เปปเปอร์มินต์ (Peppermint)

น้ำมันเปปเปอร์มินต์ (สะระแหน่) มีเมนทอลซึ่งให้ความรู้สึกเย็นเมื่อทาลงบนผิว ช่วยบรรเทาอาการเจ็บและปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้เมนทอลในเปปเปอร์มินยังมีคุณสมบัติเป็นยาแก้ปวด ช่วยต้านการอักเสบ รวมถึงเพิ่มกานไหลเวียนโลหิตไปยังกล้ามเนื้อ

น้ำมันเปปเปอร์มินต์ยังเหมาะสำหรับช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ด้วย

วินทอร์กรีน (Wintergreen)

น้ำมันหอมระเหยวินเทอร์กรีน หรือน้ำมันระกำ เป็นญาติสนิทกับเปปเปอร์มินต์ น้ำมันระกำมีเมทิลซาลิไซเลต มีผลคล้ายกับแอสไพริน เป็นยาบรรเทาปวดตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวด

เฮลิไครซัม (Helichrysum)

น้ำมันหอมระเหยเฮลิไครซัม ช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตึง อักเสบ และปวด

Marjoram (มาจอแรม)

น้ำมันหอมระเหยมาจอแรม ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด เป็นที่รู้จักสำหรับความสามารถในการบรรเทาอาการปวด และอาการอักเสบ

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการกล้ามเนื้อปวด และบวม

ลาเวนเดอร์ (Lavender)

น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์มีสรรพคุณในการช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ด้วย

น้ำมันลาเวนเดอร์ยังช่วยลดอาการบวมและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เหมาะสำหรับการบรรเทาอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากความเครียดทางจิตใจและความวิตกกังวลด้วย

ยูคาลิปตัส (Eucalyptus)

น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส มีสารยูคาลิปตอลตามธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกเป็นเมื่อทานวดลงบนผิว ช่วยระบายความร้อนในกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวด และอาการอักเสบ

คาโมมายล์ (Chamomile)

น้ำมันหอมระเหยโรมันคาโมมายล์ (Roman Chamomile) และเยอรมันคาโมมายล์ (German Chamomile) สามารถช่วยในเรื่องบรรเทาความเจ็บปวดและการอักเสบของกล้ามเนื้อได้

คาโมมายล์ยังช่วยบรรเทาความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และลดอาการตึงในกล้ามเนื้อ

โรสแมรี่ (Rosemary)

น้ำมันหอมระเหยโรสแมรี่ มีชื่อเสียงในด้านความสามารถในการบรรเทาอาการปวด และการอักเสบของกล้ามเนื้อ

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตึง และบวม

ไซเปรส (Cypress)

น้ำมันหอมระเหยไซเปรส ให้กลิ่นที่สงบและผ่อนคลาย ช่วยคลายความตึงในกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาการอักเสบ

แซนดัลวูด (Sandalwood)

น้ำมันหอมระเหยไม้จันท์ ช่วยรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก เส้นตึง และการอักเสบของกล้ามเนื้อได้

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

กานพลู (Clove)

น้ำมันหอมระเหยกานพลู มักจะถูกใช้ในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ในกานพลูมียูจีนอลซึ่งใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวดตามธรรมชาติ

ขิง (Ginger)

น้ำมันหมอระเหยขิง ให้ความรู้สึกร้อน เมื่อทานวดลงบนกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดได้

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตึง

คลารี่เซจ (Clary Sage)

น้ำมันหอมระเหยคลารี่เซจ ช่วยบรรเทาความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ แถมยังมีกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ช่วยให้ความรู้สึกผ่อนคลายขณะทานวด

จูนิเปอร์ (Juniper)

น้ำมันหอมระเหยจูนิเปอร์ ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้

น้ำมันหอมระเหยสำหรับบรรเทาอาการกล้ามเนื้อบวม

ตะไคร้ (Lemongrass)

น้ำมันหอมระเหยตะไคร้ สามารถช่วยลดการอักเสบและบวมของกล้ามเนื้อได้อย่างดี

วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยสำหรับช่วยคลายเส้น บรรเทาปวดเมื่อย

วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยสำหรับช่วยคลายเส้น บรรเทาปวดเมื่อย

ทานวด

หยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ต้องการ ผสมกับน้ำมันตัวพาตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลาก จากนั้นทานวดผิวบริเวณที่ต้องการ

คุณสามารถทำขวดโรลออนน้ำมันหอมระเหย โดยผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันตัวพาลงในขวดแก้วหัวลูกกลิ้ง ช่วยให้หยิบใช้ได้สะดวก ไม่ต้องคอยผสมใหม่ทุกครั้ง รวมถึงสามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่อีกด้วย

กระจายกลิ่น

ผสมน้ำมันหอมระเหยในเครื่องพ่นอโรมา เปิดในห้องนอน หรือห้องทำงาน กลิ่นหอมผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งอาจช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้ด้วย

ประคบร้อน หรือประคบเย็น

เติมน้ำร้อน หรือน้ำเย็นลงในชาม (น้ำเย็นสำหรับบรรเทาอาการอักเสบ ส่วนน้ำร้อนสำหรับบรรเทาอาการปวด)

จากนั้นหยดน้ำมันหอมระเหยลงไปในน้ำ 5-10 หยด นำผ้าขนหนูลงไปแช่ในน้ำจนชุ่ม บิดน้ำออกจากผ้าขนหนูจนหมาด นำไปวางประคบไว้บนกล้ามเนื้อที่ตึงปวดประมาณ 15 นาที

ข้อควรระวังการใช้น้ำมันหอมระเหย

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีหลายเกรด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติแท้ 100% ไม่มีการเจือจางด้วยสารเคมี หรือผสมตัวทำละลาย และไม่ใช่น้ำหอมกลิ่นสังเคราะห์

การเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหย ควรเลือกซื้อจากบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ใช้พืชสมุนไพรจากแหล่งผลิตคุณภาพสูงที่ไม่มีการใช้สารเคมี และมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยบางตัวอาจทำให้ระคายเคืองผิว และทำให้เกิดอาการบวมได้ โดยเฉพาะผู้ที่ผิวบอบบาง ดังนั้นจึงแนะนำเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำมันตัวพา (Carrier Oil) ในการทานวดบนผิวเสมอ

หลีกเลี่ยงการทาน้ำมันหอมระเหยบริเวณใกล้ดวงตา หรือเยื่อเมือกอ่อน ผู้ที่ผิวแพ้ง่ายควรทำการทดสอบกับผิวบริเวณแคบก่อน

การใช้น้ำมันหอมระเหยในเด็กเล็กต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผิวของเด็กบอบบางกว่าของผู้ใหญ่ ควรเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำมันตัวพาทุกครั้ง และเจือจางในอัตราส่วนที่มากกว่าผู้ใหญ่

หากคุณอยู่ระหว่างกำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร มีโรคประจำตัว หรือระหว่างทานยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหย

Search