9 เคล็ดลับวิธีดูแลสุขภาพดี ฟื้นฟูภูมิต้านทานด้วยอาหาร

หัวข้อ

Immune System Recovery กลับมามีสุขภาพดีง่ายๆ ฟื้นฟูภูมิต้านทานทำลายตนเอง แค่เลือกกินอาหารให้ถูกต้อง

บทความนี้ เราจะเจาะลึกศาสตร์แห่งสุขภาพ ภูมิคุ้มกัน และโภชนาการในระดับเซลล์ วิธีฟื้นฟูภูมิต้านทานโดยการเลือกอาหารที่ทาน รวมถึงอาหารเสริม อะไรควรทาน อะไรควรหลีกเลี่ยง ถ้าอยากให้ร่างกายมีสุขภาพภูมิคุ้มกันที่ดี

Share

โรคภูมิต้านตนเองคืออะไร?

สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายๆ คน หนึ่งในนั้นคือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (autoimmune disease) ตั้งแต่ โรคลูปัส (lupus), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ไปจนถึงโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดติด (Ankylosing Spondylitis)

โรคเหล่านี้เกิดจากการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกายตนเอง ซึ่งไม่ได้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมเท่านั้น ตามที่หลายๆคนเชื่อ

โรคภูมิต้านตนเอง มีเพียงประมาณ 30% เท่านั้นที่เกิดจากพันธุกรรม แต่อีก 70% เป็นผลมาจากวิถีชีวิต อาหารการกิน และสิ่งแวดล้อม

ข่าวดีคือ เราสามารถ “เลือก” วิถีชีวิต อาหารการกิน และสิ่งแวดล้อมได้

Nutrigenomics นูทรีจิโนมิกซ์ ฟื้นฟูภูมิคุ้มกันด้วยอาหาร

นูทรีจิโนมิกซ์ ฟื้นฟูภูมิคุ้มกันด้วยอาหาร

เมื่อเราพูดถึงอาหาร อาหารมีหน้าที่ไม่ใช่เพื่อทำให้คุณอิ่ม (แน่นอน…เราล้วนสนุกกับการทานอาหารรสชาติดี) แต่โดยพื้นฐานแล้ว คุณควรเลือกทานอาหาร ไม่ใช่แค่จากปริมาณแคลอรี่ แต่อยู่ที่ว่ามันจะส่งผลต่อเซลล์ของคุณอย่างไรด้วย

เลือกอาหารตามวิธีที่เซลล์ในร่างกายของคุณทำงาน ไม่ใช่แค่วัดปริมาณแคลอรี่

คุกกี้หนึ่งร้อยแคลอรี กับแอปเปิ้ลหนึ่งร้อยแคลอรี มีความแตกต่างกันอย่างมาก แอปเปิ้ลจะส่งผลต่อยีน และทุกเซลล์ในร่างกายของคุณต่างจากคุกกี้แน่นอน

นี่คิอศาสตร์ที่เรียกว่า “นูทรีจิโนมิกซ์” (Nutrigenomics) หรือ โภชนพันธุศาสตร์ อาหารที่คุณกินส่งผลต่อการแสดงออกทางพันธุกรรมของคุณ

ร่างกายคุณต้องการโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต และอาหารที่คุณกินเหล่านี้ ส่งผลต่อร่างกายคุณในระดับเซลล์

เมื่อเรากำลังพูดถึงเซลล์ นี่คือที่ที่เก็บรหัสพันธุกรรมของร่างกายเราไว้

หากเราเลือกทานอาหารที่มีผลเสียเซลล์ ยีนของเราย่อมร้องเตือน ผ่านทางปัญหาสุขภาพต่างๆ นาๆ และแน่นอน…เราต่างไม่ต้องการสิ่งนั้น เราต้องการให้เซลล์ของเราแข็งแรง

ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ กัน

บร็อคโคลี่, ดอกกะหล่ำ และกะหล่ำดาวเป็นผักที่เราเรียกว่า “พืชตระกูลกะหล่ำ” (Cruciferous vegetables)ที่คุณมักผ่าครึ่งแล้วปล่อยทิ้งไว้ซักพัก ก่อนที่คุณจะกิน

เมื่อคุณกินผักตระกูลกะหล่ำ พวกมันจะเปลี่ยนการแสดงออกทางพันธุกรรมของคุณ โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

ในหนึ่งวัน คนเราทำการตัดสินใจเฉลี่ย 36,000 ครั้งทุกวัน การตัดสินใจเรื่องอาหารการกินเป็นหนึ่งในนั้น และมันส่งผลต่อเซลล์ สุขภาพ และภูมิคุ้มกันของคุณทุกวัน

อะไรทำให้เกิดปัญหาภูมิต้านทานจากอาหารที่เรากิน?

โปรตีนมีผลอย่างมากต่อระบบภูมิคุ้มกัน

โปรตีนมีผลอย่างมากต่อระบบภูมิคุ้มกัน

โปรตีน เป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย

ในร่างกายของเรามีโปรตีนอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งถูกระบุตามรูปแบบโครงสร้างของกรดอะมิโน เช่น ซิสเทอีน (cysteine) หรือ ไลซีน (lysine) ต่างก็เป็นชื่อโปรตีนชนิดหนึ่ง

เซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรามีหน้าที่ระบุชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายรับเข้าไป

เซลล์ภูมิคุ้มกันจะตรวจสอบว่า สิ่งนี้คือเพื่อน หรือว่านี่คือศัตรูต่อร่างกาย โดยดูจากโครงสร้างของกรดอะมิโนของสิ่งนั้น

เรียกง่ายๆว่า กรดอะมิโนที่ร่างกายเรารับเข้าไป มี “ป้ายชื่อ” กำกับอยู่

เซลล์ในร่างกายของเรา โปรตีนที่เราทานเข้าไป รวมไปถึงกรดอะมิโนที่ผิวชั้นนอนกของเซลล์แบคทีเรีย และไวรัส ต่างก็มีป้ายชื่อนี้

เซลล์ภูมิคุ้มกันจะคอยตรวจสอบป้ายชื่อแปลกปลอม และเข้าไปกำจัด

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเซลล์ภูมิคุ้มกันสับสนป้ายชื่อ ระหว่างเซลล์ไวรัส และเซลล์ที่ดี

ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มโจมตีสิ่งที่ “คิดว่า” เป็นศัตรูต่อร่างกาย ร่างกายโจมตีตัวเองเพราะสับสนกับป้ายชื่อและโครงสร้างกรดอะมิโน สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพทุกประเภทสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง

ถ้าให้สรุปง่ายๆ โรคภูมิต้านตนเอง คือเมื่อร่างกายโจมตีเซลล์ และเนื้อเยื่อของตัวเอง เพราะสับสนป้ายชื่อ

ลำดับกรดอะมิโน เป็นวิธีที่ระบบภูมิคุ้มกันของเรา อ่านป้ายชื่อและรุบุว่านี่คือเซลล์แปลกปลอม หรือเซลล์ของร่างกายเราเอง

และเนื่องจากโปรตีนในอาหารที่เราทานมีก็ป้ายชื่อ จึงสามารถทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านได้ หากระบบภูมิคุ้มกันไม่รู้จัก

นี่คือตัวอย่าง

ไกลอะดิน (Gliadin) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลูเตน โมเลกุลโปรตีนเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก กับโมเลกุลที่ประกอบขึ้นเป็นต่อมไทรอยด์ของคุณ

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้องการโจมตีกรดอะมิโนไกลอะดิน ย่อมมีลูกหลงไปโดนเนื้อเยื่อไทรอยด์ของคุณโดยไม่ได้ตั้งใจ และจากจุดนั้น ร่างกายคุณจะตอบสนองต่อกลูเตน ดังนั้นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไทรอยด์ควรงดอาหารที่มีกลูเตน เช่น ขนมปัง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ร่างกายสามารถโจมตีตัวเองได้

สรุปส่วนแรกแบบสั้นๆ

  • ระบบภูมิคุ้มกันจะมองหาสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย โดยดูจากโครงสร้างของกรดอะมิโน (ป้ายชื่อ)
  • ไวรัส แบคทีเรีย และโปรตีนในอาหาร ต่างมีมีป้ายชื่อกำกับอยู่
  • นี่อาจเป็นปัญหาได้หากระบบภูมิคุ้มกันไม่รู้จัก หรือสับสนกับป้ายชื่อเหล่านี้ แล้วไปโจมตีเซลล์ในร่างกายที่มีป้ายชื่อคล้ายกัน และนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าความสับสนของเซลล์ภูมิคุ้มกัน

ผู้ที่ใช้ยาลดกรด หรือ สารยับยั้งโปรตอนปั๊ม (proton pump inhibitors) มีแนวโน้มที่จะมีความไวต่อปฏิกิริยาและ การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าปกติ

อาหารย่อยไม่ดี ทำให้ภูมิคุ้มกันสับสนได้

อาหารย่อยไม่ดี ก็ทำให้ภูมิคุ้มกันสับสนได้

หากเยื่อบุของระบบทางเดินอาหารในกระเพาะของคุณไม่แข็งแรง มันจะมีแอ่งรูพรุน และเมื่ออนุภาคขนาดใหญ่ของอาหารเข้าไปสะสมในนั้น มันจะไม่ถูกย่อย จากนั้นเซลล์ภูมิคุ้มกันจะอ่านป้ายชื่อเหล่านั้นและเริ่มโจมตี

นี่คือปัญหาเวลาที่ร่างกายจะโจมตีตัวเอง โดยพิจารณาจากอาหารที่คุณกำลังรับประทานอยู่

กลูเตน (Gluten) ประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิดคือ ไกลอะดิน (gliadin) และ กลูเตนิน (glutenin) พวกมันมีป้ายชื่อต่างกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของคุณไม่รู้จัก และโปรตีนเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกส่งผ่านเยื่อบุลำไส้ และไปสิ้นสุดในกระแสเลือด เพราะมันย่อยยากเกินไป

ดังนั้นการขจัดกลูเตนออกจากอาหาร หรือลดการบริโภคกลูเตนให้ได้มากที่สุด เป็นหนึ่งในวิธีวิธีลดปัญหาจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

โมเลกุลคล้าย (molecular mimicry) ปัญหาที่ภูมิคุ้มกันสับสน

โมเลกุลที่คล้ายคลึงกัน หรือ molecular mimicry เป็นกรณีอันตรายของการระบุป้ายชื่อที่ผิดพลาด เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณมุ่งเป้าไปยังเป้าหมายที่ไม่ถูกต้อง

นั่นคือเนื้อเยื่อของคุณเอง

เพราะภูมิคุ้มกันของสับสนระหว่างเซลล์ที่มีสุขภาพดี กับเซลล์ผู้บุกรุก

นั้นหมายถึงว่าหากคุณสามารถกำจัด “โมเลกุลคล้าย” ในอาหารของคุณได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี

โรคข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นภูมิคุ้มกันทำลายตนเองรูปแบบหนึ่ง ที่ร่างกายโจมตีข้อต่อในแบบที่คนเป็นโรคนี้ทราบกันดี

ดังนั้น ถ้าจะฟื้นฟูภูมิต้านทาน ป้องกันภูมิคุ้มกันทำลายตยเอง เป้าหมายของเราคือการนำอาหารที่สร้างความสับสนให้กับภูมิคุ้มกันออกไปจากเมนูให้มากที่สุด

9 เคล็ดลับฟื้นฟูระบบภูมิต้านทาน แค่เลือกกินอาหารให้ถูกต้อง

น้ำตาลทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง

1. น้ำตาลทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง

น้ำตาลส่วนเกินในร่างกายทำให้เกิดสาร “ทำให้แก่” หรือ AGEs (advanced glycation end products) เมื่อสาร AGE เข้าไปจับส่วนไหนของร่างกายส่วนนั้นก็จะเกิดการเสื่อมสภาพเกิดขึ้น

น้ำตาลยังก่อให้เกิดปฎิกริยาไกลเคชั่น (glycation) ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายไม่รู้จัก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน ส่งผลให้เกิดการอักเสบในร่างกาย

ดังนั้นผู้ร้ายของคุณคือพวกเบเกอรี่หวานๆอย่างเบเกิล, ขนมปัง, เค้ก, คุกกี้, อาหารเช้าซีเรียล, ลูกอม, น้ำอัดลม, ขนมแครกเกอร์ และลูกกวาด

2. สติเป็นกุญแจสำคัญ

คำถามง่ายๆ ในกาเลือกสิ่งที่คุณจะทาน คือ ฉันจะกินสิ่งนี้ หรือสิ่งนี้จะกินฉัน? แค่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาภูมิคุ้มกันของคุณ และมีสติทุกครั้งที่เอาอะไรเข้าปาก

ใบสั่งยาที่ดีที่สุดที่คุณสามารถเขียนเองได้ อยู่ที่ปลายส้อมของคุณนั่นเอง

3. ไขมันทั้งหมดไม่เลว

ร่างกายคุณคุณต้องการไขมันดี ที่เรียกว่า ไขมันอิ่มตัว (unsaturated fat) ไขมันนี้มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ

ในทางกลับกัน ไขมันเลวอย่างไขมันอิ่มตัว (saturated fat), ไขมันจากอาหารแปรรูปเป็นสิ่งที่ทำร้ายร่างกาย

อาหารที่ดีที่สุดที่คุณกินได้ทุกวันคืออะโวคาโด ซึ่งเป็นไขมันที่ดีที่สุด

ไขมันที่ดีอื่นๆคือ ปลา, เมล็ดแฟลกซ์ ถั่ว, เมล็ดพืช, มะพร้าว, น้ำมันมะกอก และน้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันชนิดเดียวที่คุณควรใช้ทำอาหาร

อยู่ห่างจากน้ำมันอื่นๆ ทั้งหมด

4. หาเลี้ยงตัวเองด้วยสารอาหารดีๆ (แต่ชื่อแปลกๆ)

ให้สิ่งดีๆ แก่ร่างกายเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ร่างกายต้องการสารอาหารที่สำคัญ เช่น

ไลโคปีน (Lycopene)

ได้จากฝรั่ง มะเขือเทศปรุงสุก พริกหวาน หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลีแดง และมะม่วง

หากคุณทานอาหารเหล่านี้ คุณกำลังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ของคุณทำงานได้ตามปกติ

ลูทีน (Lutein)

ร่างกายคุณต้องการลูทีนปริมาณมาก หาได้จากผักคะน้า อะโวคาโด บร็อคโคลี่ ผักตระกูลกะหล่ำ แตงกวาและถั่วเขียว

แตงกวาผสมกับน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ พริกไทยดำ และกระเทียม เป็นเมนูสุขภาพที่คุณสามารถกินได้ตลอดทั้งวัน

อาหารทั้งหมดนี้อุดมไปด้วนลูทีน นอกจากนี้เก๋ากี้หนิงเซี่ย (NingXia Red) ยังเป็นแหล่งของซีแซนทีน และลูทีนปริมาณมากเช่นกัน

เรสเวอราทรอล (Resveratrol)

ได้จาก องุ่นแดง บลูเบอร์รี่ และเนยถั่วออร์แกนิก

เรสเวอราทรอล ดีมากสำหรับสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด แถมยังดีต่อความดันโลหิตของคุณด้วย

วิตามินและแร่ธาตุก็สำคัญ

5. วิตามินและแร่ธาตุก็สำคัญ

วิตามินเอ สังกะสี ซีลีเนียม และ EGCG ในชาเขียว เป็นสารอาหารสำคัญต่อสุขภาพภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ คุณยังต้องการวิตามินดี วิตามินดีมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการทำงานของภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินหายใจ

มาเจาะลึกกันว่า วิตามินดี 3 ช่วยอะไรภูมิคุ้มกันได้บ้าง

วิตามินดี 3 จะจับตัวกับเซลล์เดนไดรต์ (dendritic cells) และแอสโตรไซต์ (astrocytes) ในสมองของคุณ ซึ่งช่วยให้พวกมันทำงานน้อยลง แต่นั่นเป็นสิ่งที่ดี

วิตามินดี 3 ทำงานได้ดีเมื่อจับคู่กับเซลล์ภูมิต้านทานที่เรียกว่า ทีเซลล์ (T-cell) ที่โตเต็มที่ หากคุณกำลังจะไปทำสงครามกับประเทศอื่น คุณจะไม่ส่งเด็กอายุ 5 ขวบไปสู้รบ คุณจะส่งชายและหญิงอายุ 20 ปีที่สามารถสู้รบได้ใช่มั้ย? เช่นเดียวกับ T-cell ของคุณ คุณต้องการ T-cell ที่โตเต็มที่เพื่อช่วยร่างกายในการสู้รบกับเหล่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย

วิตามินดี 3 มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของคุณ ดังนั้นให้แน่ใจว่าร่างกายคุณได้รับวิตามินดี 3 ประจำเพื่อช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของคุณ

6. กรดไขมันจำเป็น

GLS หรือ กรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic Acid) เป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดหนึ่ง ในกลุ่มโอเมก้า 6 ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ สามารถพบได้ในน้ำมัน เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ แบล็คเคอแรนท์ตังกุย และขิง นี่เป็นกรดไขมันจะเป็นที่ดี่อสุขภาพ

ไขมันมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันยังไง?

กรดไขมันจำเป็นอย่าง GLA ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์หลวมและชุ่มชื้น ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการบวม ปวด แดง ที่เกิดจากการอักเสบ

ในทางกลับกัน ไขมันเลวอย่างไขมันทรานส์ หรือไขมันอิ่มตัว ส่งผลตรงกันข้าม คือจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เซลล์จับตัวกันเป็นก้อน การไหลเวียนเลือดแย่ลง รวมถึงทำให้เกิดการอักเสบในเซลล์ด้วย

ไขมันยังสร้างสารที่เรียกว่า “โพรสตาแกลนดิน” (Prostaglandin) ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่สามารถเพิ่มหรือลดการอักเสบได้

กรดไขมันที่ดีจะสร้างพรอสตาแกลนดินที่ดีเช่น PGE1 ซึ่งจะช่วยระบบภูมิคุ้มกันของคุณ

7. เอาข้าวโพดออกไปจากเมนู

ข้าวโพด ไม่ดีต่อร่างกายเมื่อเราต้องการกำจัดกลูเตน ซึ่งรวมถึง ข้าวโพดทั้งฝัก น้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) และ แป้งข้าวโพด (cornstarch)

สิ่งที่เราอยากแทนที่ข้าวโพด คือด้วยคือผักอื่นๆ ทั้งหมด ผักนึ่ง ผัดผัก หรือผักปรุงในน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว

นอกจากนี้ คุณสามารถแทนที่ข้าวโพดด้วยข้าว บัควีท คีนัว หรือข้าวโอ๊ตที่ปราศจากก

8. เอาถั่วเหลืองออกไปด้วย

ถั่วเหลืองในตลาดส่วนใหญ่เป็นถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ทั้งหมดอยู่แล้ว คุณต้องการแทนที่ด้วยถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี หรือถั่วอื่น ๆ ทั้งหมด

ลดผลิตภัณฑ์จากนม

9. ลดผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์จากนม สามารถก่อให้เกิดการอักเสบได้

แทนที่นมวัวด้วยนมอัลมอนด์ นมข้าว นมกัญชง และคีเฟอร์ แน่นอนทั้งหมดเป็นแบบไม่ผสมน้ำตาล

วิธีรีเซ็ตภูมิต้านทานทำลายตัวเอง

หากคุณมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง และต้องการรีเซ็ตฟื้นฟูภูมิต้านทานให้กลับมาทำงานถูกต้อง

คุณต้องกำจัดอาหารที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของคุณสับสนออกจากเมนู เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์

แต่ถ้าคุณตัดสินใจว่าในเมนูนั้นมีอาหารที่คุณชอบ ให้ค่อยๆเพิ่มทีละอย่างลงไปในเมนู โดยเว้นช่วงกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ แล้วดูว่าร่างกายของคุณมีปฎิกริยายังไงกับสิ่งที่คุณเพิ่มเข้าไป

สมมติว่าคุณเพิ่มนมถั่วเหลืองในอาหารของคุณ จากนั้นให้ตรวจสอบตัวเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์สำหรับอาการท้องอืด ปวดหัว ปวดข้อ อาการร้อนวูบวาบ และระบบร่างกายอื่นๆ ที่ไม่ปกติ

หากคุณเริ่มพบอาการไม่ปกติดหล่านี้ นั่นหมายความว่าอาหารนั้นเป็นปัญหาสำหรับคุณ

แนวทาง 3 ขั้นตอนสำหรับแผนรีเซ็ตระบบภูมิคุ้มกัน

1. เลือกอาหารที่จะช่วยเพิ่มสุขภาพภูมิคุ้มกันของคุณตามหลักนูทรีจิโนมิกซ์ (Nutrigenomics)

2. เพิ่มอาหารเสริม และสมุนไพรสำหรับการช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการตั้งสติก่อนหยิบอะไรเข้าปากสติ

3. รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู (functional medicine approach)

การฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเรื่องของนิสัยการใช้ชีวิต

คุณยินดีที่จะทำในสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งหรือไม่ และคุณจะซื่อสัตย์กับตัวเองมากพอที่จะยอมรับเมื่อคุณไม่ได้ทำตามเป้าหมายเพื่อสุขภาพที่ตั้งไว้ เพื่อที่คุณจะได้รู้ตัว และกลับมาอยู่ในเส้นทางเดิม

คุณต้องเต็มใจที่จะทำอย่างนั้นจริง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำ

นี่คือสิ่งที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน คนส่วนใหญ่มักรอให้มาถึงจุดที่สุขภาพย่ำแย่ หรือเจ็บป่วยมากพอ ถึงพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

4. วิตามิน A, B, C, D ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้องการสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด

วิตามินเอจำเป็นสำหรับการดูดซึมวิตามินดี วิตามินซีจำเป็นสำหรับช่วยต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบีจำเป็นสำหรับการรักษาระดับพลังงาน

คุณสามารถได้วิตามินเหล่านี้ทั้งจากอาหาร และอาหารเสริม

ผู้ช่วยระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ เช่น สังกะสี EGCG (สารสกัดชาเขียว) และซีลีเนียม ทั้งหมดจำเป็นสำหรับเยื่อบุลำไส้ของคุณด้วยเช่นกัน

และอีกครั้ง ไขมันดีจากอะโวคาโด ถั่ว เมล็ดพืช น้ำมันมะกอก เนยกี (ghee) อัลมอนด์ และผักใบเขียว

หากคุณต้องการเจาะลึกเรื่องนี้จริงๆ เราแนะนำหนังสือแผนฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันชื่อ Immune System Recovery Plan

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คุณต้องตรวจผลตรวจสุขภาพของคุณในกลุ่มวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงระดับวิตามินดี อินซูลิน ฮีโมโกลบิน A1c และ cardio CRP (การอักเสบในระบบหัวใจและหลอดเลือด)

เราไม่สามารถเป็นอย่างที่เราต้องการได้ ด้วยการคงไว้ซึ่งสิ่งที่เราเป็น

เมื่อคุณใช้ชีวิตถึง 50, 60 หรือ 70 ปี คุณจะกลับมาเสียใจมั้ย ถ้าไม่ได้ตัดสินใจเลือกดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้?

บทความนี้แปล และเรียบเรียงจาก Young Living Diamond Class: Immune System Recovery Plan – Ed Dailey

Search