Carrier Oils 9 น้ำมันตัวพาน่ารู้ สำหรับคนใช้น้ำมันหอมระเหย

หัวข้อ

Carrier Oils น้ำมันตัวพา หรือน้ำมันนวด สำหรับคนใช้น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันตัวพา (Carrier Oil) มีบทบาทสำคัญในการใช้ร่วมกับน้ำมันหอมระเหย สำหรับทานวดบนผิวหนัง

Carrier Oils คือน้ำมันที่ได้จากการสกัดเย็นเมล็ดพืช เป็นน้ำมันที่ไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นน้อยมาก ใช้ผสมกับน้ำมันหอมระเหย 100% เพื่อเจือจาง ให้สามารถใช้ทาน้ำมันหอมระเหยกับผิวได้อย่างปลอดภัย

Share
Carrier Oils น้ำมันตัวพาน่ารู้ สำหรับคนใช้น้ำมันหอมระเหย

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหย สามารถระเหยได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอาจจะมีกลิ่นตามธรรมชาติของพืชที่บางคนไม่ชอบ หรือรู้สึกว่ากลิ่นฉุนแรงเกินไป

ในบางกรณี สำหรับน้ำมันหอมระเหยบางชนิด และสำหรับคนที่ผิวบอบบาง การทาน้ำมันหอมระเหย 100% ที่ผิวโดยตรง อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้

Carrier Oil เป็นน้ำมันพืชที่ไม่ระเหย มีกลิ่นอ่อนมาก จนถึงไม่มีกลิ่น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเจือจางน้ำมันหอมระเหย เพื่อช่วยลดความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหย โดยไม่ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยลดลง หรือเปลี่ยนไป

การเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วย Carrier Oil ทำให้คุณสามารถควบคุมความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยเมื่อใช้ทาผิวได้

Carrer Oil จากพืช สร้างความมันจากน้ำมันธรรมชาติ ทำให้ซึมซับสู่ผิวได้ดีได้ดี ที่สำคัญคือไม่อุดตันรูขุมขน และไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน ต่างจากน้ำมันจากสัตว์ หรือน้ำมันสังเคราะห์

8 Carrier Oils ยอดนิยม ที่เหมาะสำหรับผสมกับน้ำมันหอมระเหย

young-living-v6-vegetable-oil-complex

1. V-6 Enhanced Vegetable Oil Complex

สูตรเฉพาะของ Young Living ที่ผสมผสานระหว่างน้ำมันมะพร้าว, น้ำมันเกรปซีด, น้ำมันอัลมอนด์หวาน, น้ำมันจมูกข้าวสาลี, น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันมะกอก

น้ำมันจมูกข้าวสาลี (Wheat germ oil) มีวิตามินอีสูง และทำหน้าที่เป็นสารกันบูดตามธรรมชาติ
ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ไม่อุดตันรูขุมขน มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน

เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้คู่กับน้ำมันหอมระเหย Young Living

* ข้อควรระวัง: อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ถั่ว

น้ำมันเกรปซีด (Grapeseed Oil)

2. น้ำมันเกรปซีด (Grapeseed Oil)

เกรปซีด หรือน้ำมันเมล็ดองึ่น เป็นน้ำมันที่มีเนื้อเบาบาง เหมาะสำหรับการนวด เมื่อทาจะเป็นฟิล์มมันวาวเบา ๆ บนผิวหนัง

ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น มี “วิตามินเอฟ” หรือกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) สูง ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นและช่วยลดอาการอักเสบที่ผิวหนัง

อย่างไรก็ตาม น้ำมันเกรปซีด มีอายุการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้น

น้ำมันอัลมอนด์หวาน (Sweet Almond Oil)

3. น้ำมันอัลมอนด์หวาน (Sweet Almond Oil)

มีกลิ่นออกหอมหวานเล็กน้อย ดูดซึมสู่ผิวได้ค่อนข้างเร็ว จะทิ้งความมันไว้เล็กน้อยบนผิว
อุดมไปด้วยวิตามินอี และกรดโอเลอิก ที่ช่วยเติมน้ำให้ผิว และยังช่วยลดอาการอักเสบต่างๆในผิว

* ข้อควรระวัง: อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ถั่ว

น้ำมันโจโจบา (Jojoba)

4. น้ำมันโจโจบา (Jojoba)

มีกลิ่นถั่วเล็กน้อย การดูดซึมที่รวดเร็ว และไม่เหนียวเหนอะหนะ คล้ายกับน้ำมันตามธรรมชาติของผิว
ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังและเส้นผม มีอายุการเก็บรักษานาน

น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

5. น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

น้ำมันยอดนิยม ที่หาง่ายใช้ทั้งการทาผิว และในการทำอาหาร
มีเนื้อน้ำมันค่อนข้างหนา ทิ้งความรู้สึกมันบนผิว มีกลิ่นหอมของเมล็ดโอลีฟอยู่ในเนื้อน้ำมัน

เป็นแหล่งที่ดีของกรดโอเลอิก (กรดไขมันโอเมก้า) อายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Fractionated Coconut Oil)

6. น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Fractionated Coconut Oil)

จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีกลิ่นมะพร้าวปน ดูดซึมสู่ผิวได้ดี ทำให้ผิวรู้สึกเนียน และชุ่มชื้น

มีกรดไขมันจำเป็นสูง มีอายุการเก็บรักษานาน

น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil)

7. น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil)

เนื้อครีมสีขาว แข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นมะพร้าวโดดเด่น

สร้างความชุ่มชื้น และความมันบนผิว มีอายุการเก็บรักษานาน

เนยโกโก้ (Cocoa Butter)

8. เนยโกโก้ (Cocoa Butter)

เป็นไขมันจากเมล็ดโกโก้ (cocoa) แข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง ใช้ดีที่สุดเมื่อละลาย และผสมกับน้ำมันตัวพาอื่น ๆ
มีกลิ่นหอมหวานของช็อกโกแลต

เชียบัตเตอร์ (Shea Butter)

9. เชียบัตเตอร์ (Shea Butter)

เป็นไขมันธรรมชาติที่สกัดจากเชียนัท หรือเมล็ดของต้นเชีย มีสีครีม เนื้อสัมผัสเหนียวข้นคล้ายเนย ให้ความรู้สึกเหมือนขี้ผึ้ง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง และเส้นผม

Carrier Oil มีอายุการเก็บรักษาที่จำกัด โดยทั่วไปจะเก็บได้ 6-12 เดือน เพื่อยืดอายุของ Carrier Oil ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท ในที่เย็น และมืด

การผสมน้ำมันหอมระเหย กับ Carrier Oils

ไม่มีสูตรตายตัวสำหรับการผสมน้ำมันหอระเหยเข้ากับน้ำมันตัวพาสำหรับทานวด

คำแนะนำของเราคือ

ให้เริ่มจากผสมน้ำมันหอมระเหยปริมาณน้อยก่อน ตามตารางแนะนำด้านล่าง เช่น 0.5% (น้ำมันหอมระเหย 1 หยดต่อน้ำมันตัวพา 10ml) หรือ 1% จากนั้นทดลองกลิ้งบนผิว บริเวณต้นแขน เพื่อดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ จากนั้นสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยได้ตามชอบ

เคล็ดลับน่ารู้…

นอกจากการผสมน้ำมันหอมระเหย กับน้ำมันตัวพาลงในขวดลูกกลิ้งพร้อมกันแล้ว

ยังสามารถใช้วิธีเติมเฉพาะน้ำมันตัวพาลงในขวดลูกกลิ้งอย่างเดียว เวลาใช้ก็นำขวดลูกกลิ้งกลิ้งทาบนผิวก่อน แล้วค่อยหยดน้ำมันหอมระเหยตามลงไปบนผิวแล้วทานวด

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบผสมน้ำมันหอมระเหลลงไปในขวดลูกกลิ้ง แถมสามารถเปลี่ยนกลิ่นได้บ่อยเท่าที่ต้องการอีกด้วย

ในกรณีของการใช้น้ำมันหอมระเหยสำหรับเด็กเล็ก

จะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผิวของเด็กนั้น บอบบาง และมีโอกาสแพ้ง่ายกว่าผู้ใหญ่

ตารางอัตราส่วนการเจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทาผิว
ตารางอัตราส่วนการเจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทาผิว
วิธีเจือจางน้ำมันหอมระเหยสำหรับเด็กเล็ก
วิธีเจือจางน้ำมันหอมระเหยสำหรับเด็กเล็ก
Search