คุณชอบความรู้สึกเย็นสดชื่นเมื่อสระผมด้วยแชมพูลาเวนเดอร์มิ้นท์ หรือความหอมสดชื่นของกลิ่นมิ้นต์หลังจากแปรงฟันมั้ย?
เปปเปอร์มินต์เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย ทีมีมากกว่าแค่ให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น
หากคุณรักในกลิ่นหอมจากธรรมชาติแท้ๆ เคยได้ยินคนอื่น ๆ แชร์ประสบการณ์ที่พวกเขาใช้น้ำมันหอมระเหยกับตัวเอง แต่คุณยังมีคำถามในใจ:
- น้ำมันหอมระเหยใช้ได้ผลจริงมั้ย?
- ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยต่อร่างกายคืออะไร?
- น้ำมันหอมระเหยอันตรายไหม?
- เพราะอะไรหลายคนจึงบอกว่าน้ำมันหอมระเหยคือศาสตร์แห่งการบำบัดทางเลือก?
- ทำไม Young Living จึงขึ้นชื่อเป็นหนึ่งในผู้นำด้านน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด?
นี่คือบทความ “จัดเต็ม” สำหรับคุณ
เจาะลึกศาสตร์แห่งอะโรมาเทอราพี และประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยแท้
น้ำมันหอมระเหยในอารยธรรมโบราณ
เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่วัฒนธรรมทั่วโลกหันมาใช้น้ำมันหอมระเหยในการแสวงหาสุขภาพที่ดี
ชาวอียิปต์โบราณ โรมัน เปอร์เซีย และเยอรมัน ต่างใช้สรรพคุณจากน้ำมันหอมระเหยสำหรับการยกระดับทางจิตวิญญาณและศาสนา เสริมสร้างกิจวัตรความงาม เพิ่มรสชาติให้อาหาร และสนับสนุนสุขภาพองค์รวม
แล้วมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่สนับสนุนประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยเหล่านั้นมั้ย?
บทความนี้จะไขความลับทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย หยิบเสื้อคลุมแล็บของคุณมาใส่ได้เลย!!
งานวิจัยน้ำมันหอมระเหย และกลิ่นบำบัด
หากคุณต้องการนำภูมิปัญญาในประวัติศาสตร์มาใช้งานในยุคปัจจุบัน คุณต้องศึกษางานวิจัย และศาสตร์สรรพคุณเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดอย่างจริงจัง
ที่สถาบันวิจัย D.Gary Young Research Institute ห้องปฏิบัติการของ Young Living ที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ทำการวิจัยทดสอบความบริสุทธิ์ และสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย รวมถึงวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบ และประโยชน์ของพลังบำบัดจากพืชตามธรรมชาติ
เมื่อเข้าใจวิทยาศาสตร์ของกลิ่นบำบัด คุณจะใช้น้ำมันหอมระเหยแบบได้ประโยชน์สูงสุด มั่นใจและปลอดภัย
แล้วน้ำมันหอมระเหยมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทำไมถึงมีประโยชน์กับระบบร่างกายของเรา?
องค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหย คือสารประกอบอะโรมาติกที่ระเหยได้ตามธรรมชาติซึ่งพบในพุ่มไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ เปลือกไม้ และเมล็ดพืช มักสกัดด้วยการกลั่นด้วยไอน้ำ น้ำร้อน หรือการสกัดเย็น
องค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของพืช
ตั้งแต่กลิ่นที่ช่วยดึงดูดแมลงมาผสมเกสร ไปจนถึงการป้องกันศัตรูภายนอก เช่น แมลง เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราที่ก่อโรค ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในร่างกาย หลายๆองค์ประกอบก็ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์คล้ายๆกัน
น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน 200-500 แบบ ซึ่งให้สรรพคุณในการใช้งานที่แตกต่างกันมากมายต่อร่างกาย
- บรรเทาอาการไอเมื่อเจ็บคอ
- บรรเทาปวดให้กล้ามเนื้อที่ทำงานหนักเกินไป
- ให้ความรู้สึกสดชื่นเย็นสบาย
- เสริมสร้างสมาธิ
- เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
- บำรุงผิวหนังและเส้นผม
- ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบการไหลเวียดเลือด
- บรรเทาผ่อนคลายความเครียด
- บำบัดอารมณ์ด้านลบต่างๆ
น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างจากน้ำมันไขมัน (หรือที่เรียกว่ากรดไขมัน) น้ำมันหอมระเหยสามารถ “ระเหย” ได้โดยไม่ทิ้งคราบเหนียวๆ ซึ่งต่างจากน้ำมันไขมันอย่างน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์
น้ำมันหอมระเหยได้ผลจริงมั้ย?
ใช้ได้ผลอย่างแน่นอน หากคุณใช้งานอย่างถูกต้อง
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยมีความหลากหลายตามการใช้งาน แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด คุณต้องใช้อย่างถูกต้อง
น้ำมันแต่ละชนิดมาจากพืชที่มีองค์ประกอบ และคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นน้ำมันแต่ละตัวจึงมีการใช้งานที่แตกต่างกัน
นี่คือตัวอย่างในการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่ทรงพลังในน้ำมันหอมระเหย:
- ทำความสะอาดคราบ: Lemon ช่วยขจัดคราบกาวเหนียวๆ
- ดูแลเส้นผม: Geranium ทำให้ผมดูเปล่งปลั่งและมีสุขภาพดี
- ให้ผิวเปล่งปลั่ง: Cedarwood ช่วยให้ผิวดูเปล่งปลั่งสุขภาพดี
- สิวและฝ้า: Tea Tree ช่วยลดการเกิดสิว
- ดูแลผิว: Helichrysum ช่วยลดเนื้อสัมผัสของโทนสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ
- เติมความชุ่มชื้นให้ผิว: Lavender ช่วยทำความสะอาดและบำรุงสุขภาพผิวแห้ง
น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นที่น่าอัศจรรย์ และประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย
การกระจายกลิ่นน้ำมันหอมระเหยในบ้าน ที่ทำงาน หรือในรถยนต์ จะสร้างกลิ่นหอมอันน่าทึ่งเพื่อให้เข้ากับทุกอารมณ์ คุณยังสามารถสร้างส่วนผสมแบบตามใจตัวเองได้ด้วย นี่คือความเป็นไปได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด!
น้ำมันหอมระเหยส่งผลเร็วขนาดไหน?
น้ำมันหอมระเหยมีความสามารถพิเศษในการถูกดูดซึมเข้าไปในเยื่อหุ้มเซลล์ เดินทางไปทั่วกระแสเลือดและเนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย
เนื่องจากโครงสร้างของน้ำมันหอมระเหยมีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ของเรา อีกทั้งโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยก็มีขนาดเล็กมาก ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมเข้าไปในเซลล์
เมื่อทาที่ฝ่าเท้า หรือเนื้อเยื่ออ่อน น้ำมันหอมระเหยสามารถเดินทางไปทั่วร่างกายได้ในเวลาไม่กี่นาที
วิธีที่รวดเร็วที่สุด คือการ “สูดดม” น้ำมันหอมระเหยสามารถส่งผ่านประสาทรับกลิ่นตรงไปยังสมอง และส่งผลได้เร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที!!
ประสาทสัมผัสกับน้ำมันหอมระเหย
ตัวรับระบบประสาทสัมผัส (Receptor) คือโปรตีนที่จับกับโมเลกุลประเภทต่างๆ เพื่อใช้สื่อสารทางเคมีภายในร่างกาย
ในตัวคุณมีตัวประสาทสัมผัสนับล้านๆ ตัว พวกมันมีหน้าที่ในการรับรู้การสัมผัส การรับรส และกลิ่น
เมื่อสารประกอบในน้ำมันหอมระเหยจับกับ “ตัวรับ” ที่ประสาทสัมผัส จะกระตุ้นผลลัพธ์ที่มีลักษณะเฉพาะในร่างกาย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย และวิธีการใช้
ในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อการดมกลิ่น (Olfactory) ของคุณมากที่สุด
งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดย National Center for Biotechnology Information ความรู้สึกของกลิ่นเป็นหนึ่งในความรู้สึกแรกที่มนุษย์พัฒนาตั้งแต่แรกเริ่มวิวัฒนาการ
มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่น เพื่อระบุอาหาร หาผู้ที่อาจเป็นคู่ผสมพันธุ์ รวมถึงรับรู้ถึงอันตราย ศัตรู และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่รวมถึงมนุษย์ กลิ่นเป็นวิธีสำคัญที่เราโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
ในจมูกคุณจะมีตัวรับกลิ่นมากถึง 100 ล้านตัว รอส่งสัญญาณไปยังสมอง! ไม่น่าแปลกใจที่น้ำมันหอมระเหยสามารถกระตุ้นอารมณ์หรือความทรงจำบางอย่างได้ดี
อโรม่าเทอราพี กลิ่นบำบัดที่ธรรมชาติสรรสร้าง
อโรม่าเทอราพี (Aromatherapy) คืออะไร?
กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย สามารถส่งผลโดยตรงต่อทุกสิ่งในร่างกายตั้งแต่สภาวะทางอารมณ์ ไปจนถึงอายุขัยของคุณ
นักวิทยาศาสตร์ยังคงสำรวจกลศาสตร์ของกลิ่น ซึ่งสามารถอธิบายการทำงานของอโรม่าเทอราพีต่อร่างกายว่าเหมือน “แม่กุญแจและลูกกุญแจ”
โมเลกุลของแต่ละกลิ่นจะเข้ากันได้กับประสาทรับสัญญาณเฉพาะจุดในร่างกาย
เมื่อสูดดมกลิ่นหอม โมเลกุลของกลิ่นในอากาศจะเคลื่อนขึ้นจมูกไปยังเยื่อบุผิวในการรับกลิ่น (Olfactory epithelium) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ตารางนิ้วในโพรงจมูก เซลล์รับกลิ่นจะถูกกระตุ้นและส่งสัญญาณต่อไปยังป่องรับกลิ่น (Olfactory bulb) และทำให้เราสามารถรับรู้กลิ่นต่างๆ มากมาย
จากนั้นป่องรับกลิ่นจะส่งสัญญาณไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมอง รวมทั้งศูนย์กลางการรับรส (ที่รับรู้ความรู้สึกของรสชาติ) ต่อมทอนซิล (ที่เก็บความทรงจำทางอารมณ์) และส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง (ลิมบิก)
ทำไมอโรม่าเทอราพีส่งผลต่อระบบประสาทในร่างกายได้?
ระบบลิมบิก (Limbic) เชื่อมต่อโดยตรงกับส่วนต่างๆ ของสมองที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การหายใจ ความจำ ระดับความเครียด และความสมดุลของฮอร์โมน น้ำมันหอมระเหยจึงมีผลทางสรีรวิทยาและจิตใจอย่างลึกซึ้ง
ความรู้สึกของกลิ่น เชื่อมโยงโดยตรงกับ “สมองลิมบิก” ศูนย์ควบคุมอารมณ์ ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความกลัว ความโกรธ และความสุข
กลิ่นสามารถปลุกความทรงจำและอารมณ์ก่อนที่เราจะรู้ตัวด้วยซ้ำ
เมื่อได้รับกลิ่น ร่างกายจะตอบสนองก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง ในขณะที่ระสาทสัมผัสอื่นๆ ทั้งหมด (สัมผัส ลิ้มรส การได้ยิน และการมองเห็น) ถูกส่งผ่านสมองธาลามัส (Thalamus) ไปยังสมองส่วนใช้ความคิดและสติปัญญา (Cerebral cortex)
สมองลิมบิก สามารถกระตุ้นสมองไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของสมองที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความหิว ความกระหาย ความเหนื่อยล้า การนอนหลับ และนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย (Circadian rhythm)
อโรม่าเทอราพีกระตุ้นฮอร์โมนได้ด้วย!??
ไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมฮอร์โมน และปล่อยฮอร์โมนที่อาจส่งผลต่อการทำงานหลายอย่างของร่างกาย การผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ และสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน ล้วนอยู่ภายใต้ไฮโปทาลามัสนี้
น้ำมันหอมระเหย สามารถกระตุ้นสมองลิมบิก และสมองไฮโปทาลามัสได้โดยตรง
การสูดดมน้ำมันหอมระเหยไม่เพียงแต่ใช้เพื่อต่อสู้กับความเครียด และความบอบช้ำทางจิตใจ แต่ยังช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนจากไฮโปทาลามัสอีกด้วย ส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์ (ฮอร์โมนพลังงาน) และฮอร์โมนการเจริญเติบโต (ฮอร์โมนวัยเยาว์และอายุยืนของเรา) เพิ่มขึ้น
ปริมาณของการลดน้ำหนักในกลุ่มอาสาสมัคร มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความถี่ของการใช้เครื่องช่วยหายใจอโรมา
กลุ่มหนึ่งในการศึกษาลดน้ำหนักเฉลี่ย 2 กิโลกรัมต่อเดือน ในช่วงหกเดือน
น้ำมันหอมระเหยอาจใช้เพื่อลดความอยากอาหาร และเพิ่มความอิ่ม
ผ่านความสามารถในการกระตุ้นไฮโปทาลามัส ซึ่งควบคุมความรู้สึกอิ่มหรือความอิ่มของเราหลังมื้ออาหาร
ในงานวิจัยขนาดใหญ่ของ Alan Hirsch, MD ใช้น้ำมันหอมระเหย รวมทั้งเปปเปอร์มินต์ เพื่อกระตุ้นการลดน้ำหนักในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ (มากกว่า 3,000 คน) ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ประสบความสำเร็จในโปรแกรมควบคุมน้ำหนักทุกประเภท
กลิ่นหอมสามารถเพิ่มความต้องการทางเพศ และความตื่นตัวทางเพศ
ในงานวิจัยแบบสุ่มแบบ double-blind อีกชุดหนึ่งของ Hirsch
เมื่ออาสาสมัครชาย 31 คนได้รับกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย 30 ชนิด แต่ละคนมีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยอิงจากการวัดดัชนีอวัยวะเพศชายและการวัดความดันโลหิตของอวัยวะเพศชายและแขน
กลิ่นที่ทำให้เลือดของอวัยวะเพศชายไหลเวียนเพิ่มขึ้นสูงสุดคือกลิ่น ลาเวนเดอร์และฟักทองผสมกัน
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำหอมสามารถกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้โดยการกระตุ้นระบบลิมบิก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางอารมณ์ของสมอง
น้ำมันหอมระเหยปลอดภัยหรือไม่?
คำตอบคือทั้งใช่ และไม่ใช่…
หากคุณเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ศึกษาวิธีใช้ อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก และเริ่มต้นการใช้งานอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คุณจะใช้งานน้ำมันหอมระเหยได้อย่างปลอดภัย และมีความสุขกับผลลัพธ์ของมัน
น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น เลม่อน อาจทำให้เกิดอาการไวต่อแสงได้ ส่งผลให้ผิวบริเวณที่ทาน้ำมันมีรอยดำไหม้ หากคุณสัมผัสรังสี UV หลังจากทาน้ำมันลงบนผิว
ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรงอย่างน้อย 12-72 ชั่วโมงหลังจากใช้น้ำมันไวแสงเหล่านี้ (รวมถึงน้ำมันเบลนด์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันไวแสง)
- Angelica
- Bergamot
- Cumin
- Grapefruit
- Jade Lemon
- Lemon
- Lime
- Mandarin
- Orange
- Tangerine
นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเป็นน้ำมัน “ร้อน” ซึ่งหมายความว่าสามารถทิ้งความรู้สึกอุ่นหรือเย็นเมื่อทาลงบนผิว เช่น เปปเปอร์มินต์ เปลือกอบเชย (cinnamon bark), พริกไทยดำ (back pepper) และออริกาโน
เมื่อใช้น้ำมันเหล่านี้ ให้เจือจางด้วยน้ำมันตัวพา (carrier oil) ก่อนทาลงบนผิวบริเวณที่บอบบาง เช่น ท้องแขน และรอดูปฏิกิริยา หากไม่มีอาการแพ้ คุณก็พร้อมแล้ว!
ถ้าอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตรล่ะ?
ในระหว่างตั้งครรภ์ น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่นั้นปลอดภัย และนำมาซึ่งความสงบสุขและความพึงพอใจสำหรับ(ว่าที่)คุณแม่ได้
การทาถูน้ำมันหอมระเหยไปทั่วท้อง ผู้หญิงหลายคนบอกว่าพวกเขารู้สึกว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากทารกในครรภ์
อย่างไรก็ตาม มีน้ำมันหอมระเหยบางชนิดห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์
หากคุณอยู่ในช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนนี้ ควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้น และปรึกษาแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยเสมอ
แล้วกรณีไหนที่น้ำมันหอมระเหยไม่ปลอดภัย?
อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำมันหอมระเหย
การปลอมปนของน้ำมันหอมระเหย กลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอุปทานของน้ำมันหอมระเหยคุณภาพสูงลดน้อยลง ในขณะที่ความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การปลอมปนอาจเกิดขึ้นได้โดยการเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำมันไขมัน
นี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปของบริษัทน้ำมันหอมระเหยบางแห่งในการเพิ่มปริมาณการผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการเจือปนด้วยสารเคมีสังเคราะห์ หรือผสมกับน้ำมันหอมระเหยราคาถูกเพื่อเพิ่มปริมาณและเพิ่มผลกำไรสูงสุด
สารเจือปนเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของน้ำมันหอมระเหย และสรรพคุณของการบำบัด
มีกรณีที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากในอียิปต์ต่างกระตือรือร้นที่จะซื้อน้ำมันหอมระเหยในท้องถิ่น โดยเฉพาะน้ำมันดอกบัว
ผู้ขายโน้มน้าวนักท่องเที่ยวว่า น้ำมันนั้นบริสุทธิ์ 100%โดยการจุดไม้ขีดไฟที่คอถังน้ำมัน เพื่อแสดงว่าน้ำมันนั้นไม่ได้เจือจางด้วยแอลกอฮอล์หรือตัวทำละลายปิโตรเคมีอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้ไม่มีตัวบ่งชี้ความบริสุทธิ์ที่เชื่อถือได้
มีสารประกอบสังเคราะห์หลายชนิดที่ไม่ติดไฟสามารถเติมลงในน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งรวมถึงโพรพิลีนไกลคอล นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติบางชนิดที่มีเทอร์พีนสูงสามารถติดไฟได้
นี่คือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการศึกษาที่มาของน้ำมันหอมระเหยหรือบริษัทผู้ผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ลาเวนเดอร์ และลาวานดิน ความเหมือนที่แตกต่าง?
น้ำมันหอมระเหยที่เจือปน หรือติดฉลากให้เข้าใจผิด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
ทุกวันนี้ น้ำมันลาเวนเดอร์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายตามห้างหรือร้านค้า เป็นน้ำมันลาเวนเดอร์ลูกผสมที่เรียกว่าลาวานดิน (Lavandin) ซึ่งมีปลูกและผลิตทั่วโลก
ลาวานดิน มักถูกให้ความร้อนเพื่อทำให้สารการบูรระเหย ผสมกับไลนาลิลอะซิเตตสังเคราะห์ เพื่อปรับปรุงกลิ่นหอม แล้วติดฉลากขายเป็นน้ำมันลาเวนเดอร์
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงความแตกต่าง และยินดีที่จะซื้อลาเวนเดอร์ลูกผสมในราคา 200 ถึง 300 บาท ต่อ 15ml ในร้านค้าต่างๆ และบนอินเทอร์เน็ต
ผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยได้ยินเกี่ยวกับความสามารถของน้ำมันลาเวนเดอร์ในการรักษาแผลไฟไหม้
ได้ใช้ “น้ำมันลาเวนเดอร์” ที่ซื้อมาจากร้านค้าสุขภาพใกล้บ้าน เพื่อช่วยรักษาแผลน้ำเดือดหกใส่แขน
แต่ความเจ็บปวดนั้นรุนแรงขึ้นและแผลไหม้นั้นรุนแรงขึ้น ดังนั้นเธอจึงบ่นว่าน้ำมันลาเวนเดอร์ไม่มีประโยชน์สำหรับการรักษาแผลไฟไหม้
เมื่อวิเคราะห์น้ำมัน “ลาเวนเดอร์” ของเธอ กลับพบว่าเป็นลาเวนเดอร์พันธุ์ผสม “ลาวานดิน” ซึ่งมีความแตกต่างทางชีวภาพจากลาเวนเดอร์แท้ (Lavandula angustifolia)
“ลาวานดิน” มีระดับการบูรสูงกว่า (7-18%) ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ในทางตรงกันข้าม “ลาเวนเดอร์แท้” นั้นแทบไม่มีการบูรเลย และยังมีสารช่วยสมานแผลที่ไม่พบในลาวานดิน
Jean Valnet, MD, เขียนเกี่ยวกับตัวอย่างที่คล้ายกันในหนังสือของเขา The Practice of Aromatherapy:
ชายคนหนึ่งกำลังรับการรักษาโรคฝีคัณฑสูตร โดยการหยดเอสเซ้นซ์ลาเวนเดอร์บริสุทธิ์
ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัว แต่เมื่อเขาออกเดินทาง และพบว่าเขาได้ลืมเอสเซ้นซ์ลาเวนเดอร์ไว้ที่บ้าน จึงหาซื้อใหม่ที่ “ร้านขายยา” ทั่วไป
น่าเสียดายที่ลาเวนเดอร์รอบนี้ ไม่ใช่ลาเวนเดอร์ธรรมชาติหรือบริสุทธิ์
การใช้งานเพียงครั้งเดียว ตามมาด้วยการอักเสบที่รุนแรง ชายผู้โชคร้ายคนนี้ไม่สามารถนั่งได้นานกว่าสองสัปดาห์
ในฝรั่งเศส การผลิตน้ำมันลาเวนเดอร์แท้ (Lavandula angustifolia) ลดลงจาก 87 ตันในปี 1967 เหลือเพียง 12 ตันในปี 1998
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ความต้องการน้ำมันลาเวนเดอร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 100%
นักการตลาดน้ำมันหอมระเหย อาจใช้น้ำมันสังเคราะห์และน้ำมันเจือปนผสมกันเพื่อนำออกจำหน่ายในราคาถูก
มีบริษัทเคมีขนาดใหญ่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาที่เชี่ยวชาญในการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ที่สามารถเลียนแบบน้ำมันหอมระเหยทั่วไปได้ทุกชนิด
สำหรับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ทุก 1 กิโลกรัมที่ผลิต จะมีการสร้างน้ำมันสังเคราะห์ประมาณ 10 ถึง 100 กิโลกรัมมาจำหน่ายเทียบ
น้ำมันหอมระเหยที่เจือปนผสมกับสารสังเคราะห์อาจมีอันตรายมาก
นอกจากจะปราศจากผลการบำบัดแล้ว ยังทำให้เกิดผื่น แผลไหม้พุพอง และระคายเคืองต่อผิวหนัง สารเติมแต่งในน้ำมันหอมระเหย เช่น โพรพิลีนไกลคอล, DEP หรือ DOP (ตัวทำละลายที่ไม่มีกลิ่นและใช้เพิ่มปริมาตร) สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้
น้ำมันหอมระเหยแท้ไม่ระคายเคืองผิวจริงมั้ย?
บางคนคิดว่าเนื่องจากน้ำมันหอมระเหย “แท้ 100%” จะไม่ระคายเคืองผิว
นี่คือสิ่งที่ผู้บริโภคมักเข้าใจผิด
น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์บางชนิดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้หากทาแบบไม่เจือจาง
หากใช้น้ำมันออริกาโนโดยตรงกับผิวหนังของบางคน อาจทำให้เกิดรอยแดงรุนแรงได้
น้ำมันจากซิตรัส และเครื่องเทศ เช่น ส้ม และอบเชย อาจทำให้เกิดผื่นขึ้นได้เช่นกัน
แม้แต่เทอร์พีนที่อ่อนในน้ำมันต้นสนอย่าง Pine ก็อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองต่อผู้ที่มีผิวบอบบางได้
น้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ใช้ได้เหมือนกันมั้ย?
แม้ว่านักเคมีจะประสบความสำเร็จในการสร้างองค์ประกอบหลักและกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยบางชนิดในห้องปฏิบัติการ
แต่น้ำมันสังเคราะห์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ในการบำบัด และอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ประกอบด้วยองค์ประกอบทางชีวภาพหลายร้อยชนิด ซึ่งให้คุณสมบัติการรักษาที่สำคัญแก่น้ำมันเมื่อรวมตัวกัน นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดยังมีโมเลกุลและไอโซเมอร์ที่ไม่สามารถผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ
ปัจจุบัน น้ำมันหอมระเหยทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 300 ชนิด มีการระบุและลงทะเบียนองค์ประกอบโมเลกุลอะโรมาติกหลายพันชนิดในน้ำมันหอมระเหยเพียง 300 ชนิดนี้
98% ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตในปัจจุบัน ถูกใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง มีเพียงประมาณ 2% ของปริมาณการผลิตที่ใช้สำหรับการรักษาและยา
น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ กับน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดต่างกันยังไง?
ปัจจัยที่กำหนดความบริสุทธิ์ของน้ำมัน มีตั้งแต่ส่วนของพืชที่ผลิตน้ำมัน สภาพดิน ปุ๋ย (อินทรีย์หรือเคมี) พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ระดับความสูง วิธีการเก็บเกี่ยว และกระบวนการการกลั่น
พืชวัตถุดิบ และสภาพแวดล้อมของฟาร์มจะต้องปราศจากสารกำจัดวัชพืช และสารเคมีทางการเกษตรอื่นๆ
สารเคมีเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำมันหอมระเหยในระหว่างการกลั่น กลายเป็นสารพิษ เนื่องจากยาฆ่าแมลงหลายชนิดสามารถละลายได้ในน้ำมัน จึงสามารถผสมปนเปื้อนในน้ำมันหอมระเหยได้
น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์กับน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดอาจไม่เหมือนกันเสมอไป
น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดคืออีกระดับ ของน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์
ถ้าพืชถูกกลั่นในเวลาที่ไม่ถูกต้องของวัน หรือด้วยขั้นตอนการกลั่นที่ไม่ถูกต้อง ส่วนประกอบในการบำบัดของน้ำมันจะหายไป
ตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินต์ ควรมีเมนทอลระหว่าง 38 – 47% เพื่อใช้ในการบำบัด ในช่วงอากาศร้อนชื้น เปปเปอร์มินต์จะมีเมนทอลจะอยู่ที่ประมาณ 24% เท่านั้น ซึ่งทำให้สรรพคุณใรการบำบัดลดลง หรือหายไป! แต่จะยังเป็นน้ำมันเปปเปอร์มินต์บริสุทธิ์อยู่
ถึงจะได้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ แต่น้ำมันนั้นจะไม่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาอีกต่อไป
กุญแจสำคัญในการผลิตน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดคือการรักษาส่วนประกอบอะโรมาติกที่ละเอียดอ่อนภายในน้ำมันหอมระเหยให้ได้มากที่สุด
ส่วนประกอบอะโรมาติกที่เปราะบางจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิและความดันสูง เช่นเดียวกับการสัมผัสกับโลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น ทองแดงหรืออะลูมิเนียม นี่คือเหตุผลที่น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดทั้งหมดต้องถูกกลั่นในถังสแตนเลสที่แรงดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ
น้ำมันหอมระเหยออแกนิค ถือเป็นน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดมั้ย?
น้ำมันหอมระเหยออแกนิค ไม่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดเสมอไป
ผู้บริโภคน้ำมันหอมระเหยรายใหญ่ที่สุดคืออุตสาหกรรมน้ำหอม และอาหาร ซึ่งใช้มาตรฐานที่เรียกว่า AFNOR ซึ่งพัฒนาขึ้นในยุโรป
AFNOR กำหนดความเข้มข้นขั้นต่ำสำหรับสารประกอบ 3-10 ตัวในน้ำมันหอมระเหย แต่ในน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติมีสารประกอบอยู่หลายร้อยตัว ดังนั้น ถึงแม้สารประกอบสำคัญในการบำบัดจะหายไปจากน้ำมันหอมระเหย แต่น้ำมันนั้นจะยังคงเป็นไปตามมาตรฐาน AFNOR
แล้ว USDA Organic ล่ะ?
ปัจจุบันไม่มีระเบียบ USDA ในการกำหนดมาตรฐานของน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด
มาตรฐาน USDA Organic อนุญาตให้มีสารประกอบที่ “ไม่ใช่ออแกนิค” ได้ 5% แต่ก็ยังสามารถติดฉลาก USDA Organic ได้
แม้แต่น้ำมันที่ผลิตจากพืชที่ปลูกในฟาร์มออร์แกนิก ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเป็นน้ำมันหอมระเหยออร์แกนิก
ฟาร์มที่อยู่ใกล้เคียงอาจฉีดพ่นสารเคมีต่างๆ ที่แพร่กระจายไปในอากาศได้ง่าย ซึ่งทำให้พืชผลปนเปื้อน มันเหมือนกับควันบุหรี่มือสอง
นอกจากนี้ น้ำที่ใช้เพื่อการเพาะปลูกอาจปนเปื้อนสารเคมี เชื้อโรคจากปลาป่วย สัตว์ที่ตายแล้ว หรือแม้แต่ของเสียจากมนุษย์
ผู้ผลิตน้ำมันหอมระเหยบางแห่งใช้สารเคมีในระบบน้ำเพื่อป้องกันท่อน้ำในหม้อไอน้ำจากการสะสมของแร่ธาตุ ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นจะผสมกับไอน้ำที่ไหลผ่านพืชวัตถุดิบ ซึ่งสุดท้ายมักจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำมันหอมระเหย
รวมทั้งน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชที่ปลูกในฟาร์มออร์แกนิกอาจปนเปื้อนด้วย “สารประกอบอินทรีย์สังเคราะห์” ที่ผู้ผลิตใส่ลงในน้ำมัน
ฉลากอาจเขียนว่า “ออแกนิค” เพียงเพราะพืชวัตถุดิบมาจากฟาร์มออร์แกนิก แต่ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการผลิตน้ำมันหอมระเหยนั้นปราศจากสารเคมีปนเปื้อนเสมอไป
นี่คือเหตุผลที่ Young Living ได้พัฒนามาตรฐานน้ำมันหอมระเหยเป็นของตนเองเองที่เรียกว่า Seed to Seal ซึ่งมาตรฐานที่สูงมากสำหรับน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด
ฟาร์ม และวิธีการกลั่น ส่งผลต่อคุณภาพน้ำมันหอมระเหยยังไง?
สภาพภูมิอากาศ ช่วงอุณหภูมิ ระดับความสูงจากน้ำทะเล ปริมาณน้ำฝน และระดับธาตุอาหารในดินของฟาร์ม ล้วนส่งผลต่อคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย
ตัวอย่างเช่น ลาเวนเดอร์ ที่ปลูกที่ระดับความสูงต่ำจะมีสารประกอบเอสเทอร์ (ซึ่งช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลอารมณ์ และบรรเทาความเครียด) อยู่ในระดับต่ำ
สารประกอบในน้ำมันหอมระเหย ยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปีที่พืชนั้นถูกนำมากลั่นด้วย เช่น ไธม์ หากกลั่นในลางฤดูร้อน หรือฤดูใบไม้ร่วง น้ำมันก็จะยิ่งมีปริมาณไทมอลมากขึ้น
นอกจากนี้…
โรงกลั่นน้ำมันหอมระเหยเชิงพาณิชย์มักใช้แรงดัน และอุณหภูมิในการกลั่นที่สูงมากถึง 5 ปอนด์ และ 150 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งกระบวนการสกัดให้เร็วขึ้น และใช้ระยะเวลากลั่นที่สั้นไม่เกิน 40 นาที
กระบวนการนี้ทำให้สามารถสกัด “ท๊อปโน๊ต” หรือกลิ่นหอมออกมาเท่านั้น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม แต่องค์ประกอบส่วนใหญ่ในน้ำมันหอมระเหยจะหายไปจากความดัน และความร้อนสูงนี้
ในขณะที่การกลั่นลาเวนเดอร์ เพื่อผลิตน้ำมันหอมระเหยบำบัดของ Young Living ใช้ความดัน และอุณหภูมิที่ต่ำ และใช้เวลากลั่นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อรักษาองค์ประกอบสำคัญในน้ำมันลาเวนเดอร์ให้ได้มากที่สุด
น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น กำยาน ต้องใช้เวลากลั่นนานถึง 16 ชั่วโมง ในการกลั่นออกมาเป็นน้ำมันหอมระเหยบำบัด
14 เคมีน่ารู้ในน้ำมันหอมระเหย และสรรพคุณต่อร่างกาย
1. อัลเคน (Alkanes)
มีน้ำมันหอมระเหยไม่กี่ชนิดที่มีอัลเคน และน้ำมันหอมระเหยที่มี มักประกอบด้วยแอลเคนน้อยกว่า 1% มักพบในน้ำมันขิง และน้ำมันเลม่อน น้ำมันดอกกุหลาบเป็นน้ำมันชนิดเดียวที่มีอัลเคนสูงถึง 11-19%
2. ฟีนอล (Phenols)
ฟีนอลเป็นสารฆ่าเชื้อและต้านจุลชีพ และอาจช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันได้ ฟีนอลบางชนิดมีฤทธิ์รุนแรง และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้
ฟีนอลที่สำคัญในน้ำมันหอมระเหย คือ ไทมอล (Thymol) และยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งพบมากในระกำ (Wintergreen) 97%, กานพลู (Clove), อบเชย (Cinnamon) และ โหระพา (Basil) และ ออริกาโน (Oregano) 70%
3. โมโนเทอร์ปีนส์ (Monoterpenes)
เป็นองค์ประกอบที่พบได้ในน้ำมันหอมระเหยทุกชนิด มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สนับสนุนและเสริมความสามารถในการบำบัดขององค์ประกอบอื่น ๆ มักจะเป็นกลิ่นแรกที่พบเมื่อดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหย
โมโนเทอร์ปีนส์พบมากใน เกรปฟรุต (Grapefruit) 93%, ส้ม (Orange), ส้มเขียวหวาน (Tangerine), เลม่อน (Lemon) และกำยาน (Frankincense) 78%
4. เซสควิเทอร์พีน (Sesquiterpenes)
เซสควิเทอร์พีน ช่วยผ่อนคลายเนื้อเยื่อที่อักเสบ และยังสามารถสร้างผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่ออารมณ์ และความสมดุลของฮอร์โมนด้วย
น้ำมันหอมระเหยมีเซสควิเทอร์พีนที่แตกต่างกันมากถึง 3,000 ชนิด ส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางกลุ่มมีกลิ่นแรง กลิ่นไม้ หรือกลิ่นเผ็ดร้อน
เซสควิเทอร์พีนพบมากในน้ำมันเช่น ซีดาร์วูด (Cedarwood) 95%, พิมเสน (Patchouli), ไม้จันท์ (Sandalwood), ขิง (Ginger) และ เมอรร์ (Myrrh) 65%
5. เทอร์พีนอื่นๆ
เช่น ไดเทอร์พีน (Diterpenes) พบในน้ำมันหอมระเหยกลั่น ไดเทอร์พีนมีคุณสมบัติคล้ายกับเซสควิเทอร์พีน ถือเป็นยาขับเสมหะ และยาขับปัสสาวะ
6. แอลกอฮอล์ (Alcohols)
แอลกอฮอล์ช่วยให้ความรู้สึดสดชื่น ใช้ทำความสะอาด เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ และต้านไวรัส มีกลิ่นหอมหวานของดอกไม้
น้ำมันที่มีแอลกอฮอล์สูง เช่น โรสวูด (Rosewood) 83%, พาลมาโรซา (Palmarosa), ผักชี (Coriander), เจอราเนียม (Geranium) และ กุหลาบ (Rose) 60%
7. อีเธอร์ (Ethers)
อีเธอร์ช่วยปรับสมดุลอารมณ์ ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยปลดปล่อยอารมณ์ และมีผลเป็นยากล่อมประสาท
พบมากในน้ำมัน โป๊ยกั๊ก (Anise) 88%, ทาร์รากอน (Tarragon), ผักชีล้อม (Fennel) และ โหระพา (Basil) 65%
8. เอสเทอร์ (Esters)
เอสเทอร์มักจะมีกลิ่นหอมหวานเข้มข้น ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุล ต้านเชื้อรา บรรเทาความเครียด และปลดปล่อยอารมณ์ลบ
น้ำมันที่พบเอสเทอร์มาก เช่น ระกำ (Wintergreen) 97%, โรมันคาโมมายล์ (Roma chamomile), คลารี่เสจ (Clary sage) และ เพตติเกรน (Petitgrain) 57%
9. อัลดีไฮด์ (Aldehydes)
อัลดีไฮด์มีกลิ่นหอมแรง เป็นสารต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบ รวมถึงช่วยผ่อนคลายระบบประสาท บรรเทาความเครียดทางอารมณ์ และลดความดันโลหิตได้
อัลดีไฮด์พบมากในน้ำมัน ตะไคร้ (Lemongrass) 67%, เมล็ดยี่หร่า (Cumin) และ อบเชย (Cinnamon) 46%
10. คีโตน (Ketones)
คีโตนมีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองและบรรเทาปวดได้ ส่งเสริมการรักษาฟื้นฟู (การสร้างเซลล์ใหม่) และทำความสะอาดหน่วยรับสัญญาณต่างๆในร่างกาย (receptor)
คีโคนพบมากในน้ำมัน ซีดาร์วูด (Cedarwood) 87%, สเปียร์มินต์ (Spearmint), เมล็ดยี่หร่า (Caraway) และ ฮิซซอป (Hyssop) 52%
11. กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acids)
เป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆ ของน้ำมันหอมระเหย เช่นกรดซินนามิกในอบเชย กรดเจอรานิกในเจอเรเนียม และกรดวาเลอรินิกในวาเลอเรียน กรดคาร์บอกซิลิกเป็นตัวกระตุ้น และช่วยทำปฏิกิริยากับสารประกอบอื่นๆ ได้อย่างมาก
12. ออกไซด์ (Oxides)
น้ำมันหอมระเหยมีปริมาณออกไซด์ 1,8-ซินีโอล หรือที่เรียกว่ายูคาลิปตอล ในปริมาณที่แตกต่างกันไป
ยูคาลิปตอลมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการคัดจมูก และทำความสะอาดไซนัส ยูคาลิปตอลพบมากในยูคาลิปตัสโกลบูลัส โรสแมรี่ และไธม์
13. แลคโตน (Lactones)
แลคโตน เช่น คีโตน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ช่วยขับเสมหะ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ต้านปรสิต และต้านการอักเสบได้
น้ำมันที่มีแลคโตนมาก เช่น กัญชาแมว (Catnip) 13% และ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery seed) 11%
14. คูมาริน (Coumarins)
คูมารินมีกลิ่นหอมของหญ้าแห้งหรือหญ้าที่เพิ่งตัดใหม่ ที่จริงแล้วเมื่อคุณตัดหญ้า คุณกำลังปล่อยคูมารินขึ้นไปในอากาศ
คูมารินมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่สูง แม้ในปริมาณเล็กน้อย คูมารินมีคุณสมบัติแก้อาการกระสับกระส่าย ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย และต้านเชื้อรา
คูมารินพบมากในเลม่อน (Lemon) 4%, ลาเวนเดอร์ (Lavender), มะกรูด (ฺBergamot) และ ทาร์รากอน (Tarragon) 3%
15. ฟิวรานอยด์ (Furanoids)
ฟิวรานอยด์สามารถมีประโยชน์เหมือนแลคโตนหรือคูมาริน ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ต้านปรสิต และต้านการอักเสบได้
ฟิวรานอยด์พบมากที่สุดในน้ำมัน เมอรร์ (Myrrh) 23%
มาตรฐานของน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด Young Living
“Seed to Seal” คือมาตรฐานคุณภาพน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด ที่เป็นจุดเด่นของ Young Living
Young Living กำหนดให้ผู้ผลิตพันธมิตรทุกคนที่ต้องการขายน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดให้กับ Young Living ส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์ประกอบทั้งหมดมีอยู่ในน้ำมันเหมาะสมในการใช้บำบัด
Young Living กำหนดให้ฟาร์มน้ำมันหอมระเหยต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ก่อนสามารถเข้าร่วมเป็นฟาร์มพันธมิตร
ตัวอย่างน้ำมันที่ส่งตรวจสอบระหว่างเดือนพฤษภาคม 2007 ถึงตุลาคม 2011 โดยผู้กลั่นที่ต้องการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Young Living พบว่ากว่า 34% ไม่ผ่านมาตรฐานของ Young Living และถูกปฏิเสธ
เนื่องจาก Young Living มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่ซื้อน้ำมันหอมระเหย Young Living จึงสามารถตรวจสอบการตอบสนองของลูกค้า และเก็บบันทึกประโยชน์ในการบำบัดที่แท้จริงของน้ำมันชนิดต่างๆ ได้
Young Living เปรียบเทียบองค์ประกอบของน้ำมันต่างๆ เพื่อกำหนดศักยภาพสูงสุดที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ Young Living จึงเป็นหนึ่งในผู้นำที่เข้าใจศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยอย่างแท้จริงมายาวนานกว่า 27 ปี
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Young Living ได้ซื้อและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัด เป็นคลังข้อมูลอ้างอิงที่มีส่วนประกอบมากกว่า 400,000 รายการ
จากฐานข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ Young Living ได้พัฒนามาตรฐานของตนเองเพื่อรักษาศักยภาพการบำบัดสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับน้ำมันหอมระเหย
การควบคุมคุณภาพของน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด
ห้องปฏิบัติการวิจัยและควบคุมคุณภาพของ Young Living ในยูทาห์ สหรัฐอเมริกามีเครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟี (GC) สี่เครื่อง สองในสี่เครื่องนี้มีแมสสเปกโตรมิเตอร์ (GC-MS) ด้วย
เครื่องมือเหล่านี้เป็นอุปกรณ์เพียงชนิดเดียวในโลกที่ถูกใช้ในการสอบเทียบสำหรับการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดโดยศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติในฝรั่งเศส (CNRS: Center National de la Recherche Scientifique)
หากส่วนประกอบเพียง “หนึ่ง” องค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยอยู่นอกเกณฑ์ที่กำหนด น้ำมันนั้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์เพื่อการบำบัดสำหรับ Young Living
ตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ที่ผลิตในภูมิภาคหนึ่งของฝรั่งเศสอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างจากที่ปลูกในภูมิภาคอื่น
ส่งผลให้น้ำมันอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น มีการบูร (camphor) มากเกินไป (1.0% แทนที่จะเป็น 0.5%) ภาวะนี้อาจเกิดจากการกลั่นลาเวนเดอร์ที่มีสีเขียวเกินไป หรือเนื่องจากสภาพอากาศบางอย่างในช่วงเวลาเก็บเกี่ยว
เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี กับมาตรฐานน้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัดของ Young Living มีความละเอียดสูงถึงขนาดแยกความแตกต่างของลาเวนเดอร์แท้ จากลาเวนเดอร์สายพันธุ์ผสม หรือลาวานดิน (lavandin) ได้
โดยปกติ ลาเวนเดอร์สายพันธุ์ผสม จะมีระดับการบูรสูง ซึ่งสามารถระบุได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม แทสเมเนียสามารถผลิตลาเวนเดอร์สายพันธุ์ผสม ที่ให้น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีระดับการบูรต่ำซึ่งเลียนแบบองค์ประกอบของลาเวนเดอร์ที่แท้จริง
โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยของลาเวนเดอร์แทสเมเนีย โดยใช้แก๊สโครมาโตกราฟีที่มีความละเอียดสูงและเปรียบเทียบกับมาตรฐานของ Young Living สามารถระบุลาเวนลาเวนเดอร์พันธุ์ผสมเหล่านี้ได้
ในสหรัฐอเมริกา มีเพียงไม่กี่บริษัทลงทุนเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด
ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์สารเคมีสังเคราะห์ ไม่ใช่สำหรับการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จากธรรมชาติ
ไขความลับน้ำมันหอมระเหยด้วย Gas Chromatography และ Mass Spectrometry
แก๊สโครมาโตกราฟี (GC) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ ที่ใช้ในการแยกส่วนประกอบอะโรมาติกจำนวนมากที่พืชผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ
เครื่องมือวิเคราะห์ทั่วไปอีกตัวสำหรับการแยกและการระบุส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยคือ แก๊สโครมาโตกราฟี แมสสเปกโตรมิเตอร์ (GC-MS)
CG-MS เป็นเครื่องตรวจจับพิเศษที่สามารถระบุชื่อส่วนประกอบน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดจากฐานข้อมูลส่วนประกอบน้ำมันหอมระเหย
เครื่อง CG-MS สามารถระบุส่วนประกอบน้ำมันตามการจัดเรียงของอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งใช้เพื่อแยกและระบุส่วนประกอบแต่ละส่วนของน้ำมันหอมระเหย
หลังจากการตรวจสอบเบื้องต้น เครื่อง GC จะใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพเพื่อกำหนดเปอร์เซ็นต์ของแต่ละส่วนประกอบในน้ำมันหอมระเหย
นักวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบการปลอมปนของน้ำมันหอมระเหยได้โดยใช้ CG-MS
ตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยของ Young Living ปี 2012 ศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในส่วนประกอบของกำยานสองชนิดคือ Sacred Frankincense (Boswellia sacra) และ Frankincense (Boswellia carterii)
พบว่ามีความแตกต่างของปริมาณสาร α-pinene ใน Sacred Frankincense คือ +8.24 ในขณะที่ใน Frankincense คือ -0.68
วิธีนี้ผู้ผลิตทั่วไปมักไม่ค่อยใช้มากนักเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูง
IRMS (Isotope Ratio Mass Spectrometry) ตรวจสารเจือปนระดับอะตอม
สิ่งนี้จำเป็นเพราะบางครั้งผู้ผลิตบางรายก็สามารถที่จะปลอม หรือเจือปนน้ำมันหอมระเหยได้อย่างแนบเนียน ซึ่งไม่สามารถระบุความเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ได้ด้วยเครื่อง CG-MS เพียงอย่างเดียว
เครื่อง IRMS วัดอัตราส่วนไอโซโทปของอะตอมแต่ละตัวในน้ำมัน โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนเหล่านี้กับน้ำมันตามธรรมชาติ และน้ำมันสังเคราะห์
ทำให้นักวิจัย Young Living สามารถระบุการเจือปนน้ำมันหอมระเหยที่ระดับอะตอมได้
น้ำมันที่เจือปนหรือน้ำมันสังเคราะห์จะถูกปฏิเสธจาก Young Living
ความซับซ้อนนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันต้องได้รับการวิเคราะห์โดยนักเคมีเชิงวิเคราะห์ ที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการตีความของแก๊สโครมาโตกราฟี และแมสสเปกโทรสโกปี
นักเคมีตรวจสอบองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยทั้งหมดเพื่อกำหนดความบริสุทธิ์ โดยวัดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ ในน้ำมัน
หากมีส่วนประกอบบางอย่างเกิดขึ้นในปริมาณที่สูงกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ส่วนประกอบเหล่านี้จะให้ร่องรอยที่สำคัญเพื่อตรวจสอบว่าน้ำมันมีการเจือปนหรือไม่
การปนเปื้อนในน้ำมันหอมระเหยเป็นปัจจัยหลักที่ Young Living ให้ควาสำคัญอย่างมาก
น้ำมันทุกล็อตจะได้รับการทดสอบในขั้นต้นโดย GC-MS โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยและการควบคุมคุณภาพของ Young Living น้ำมันล็อตที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้จะถูกปฏิเสธ และส่งคืนไปยังผู้ผลิต